วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ส่วนของการปฏฺบัติโครงงานที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา

ในการผ่าไม้ไผ่หรือเหลาไม้ไผ่เพื่อเป็นวัตถุดิบในการสานกระด้ง จะมีฝุ่นละอองจากไม้ไผ่หลุดออกมาด้วยเมื่ออยู่ในบริเวณนี้จะเสียงต่อการได้รับฝุ่นผงจากไม้ไผ่เข้าไปในร่างกาย ผู้ผ่าไม้ไผ่จะได้รับฝุ่นผงอย่างแน่นอนจากการสูดหายใจเข้าในแต่ละครั้ง ฝุ่นละอองเหล่านี้จะผ่านทางจมูก บางส่วนจะติดอยู่ที่บริเวณจมูกเนื่องจากในโพรงจมูกมีขนจมูกมีเยื่อบุผิวมีซิเลียและเมือกสำหรับดักจับสิ่งสกปรกที่เข้ามาพร้อมกับอากาศอากาศจะเคลื่อนที่ต่อไปยังคอหอยลงสู่กล่องเสียง ผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอด ทั้งสองข้างซึ่งมีถุงลมประมาณข้างละ300ล้านถุง ถุงลมเหล่านี้จะติดอยู่กับหลอดลมฝอยส่วนต้นของหลอดลมฝอยประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนเพื่อป้องกันการแฟบจากแรงกดของเนื้อเยื่อ
เมื่ออากาศเข้าสู่ถุงลมซึ่งมีหลอดเลือดฝอยห่อหุ้มอยู่โดยรอบบริเวณนี้จะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นเป็นตำแหน่งแรกโดยแก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลมแก๊สออกซิเจนจะจับกับฮีโมโกลบิน(HB)ในเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นออกซีฮีโมโกลบิน [ ]จะมีสีเเดงสดเลือดที่มีออกซิฮีโมลโกลบินจะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดไปยังเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

อภิปราย ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ

การทำกระด้งสารพัดประโยชน์ เป็นการประยุกต์ใช้ไม้ไผ่ให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่ามากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้อีกทั้งยังรักาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านให้สืบทอดต่อไป

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

สรุปผลการศึกษา

ไม้ไผ่ที่ได้นำมาประยุกต์ทำเป็นกระด้ง สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และนำมาจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้อีกด้วย

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์






























































































วัตถุดิบที่ใช้ในการสานกระด้ง
1.ไม้ไผ่
2.มีด
3.เชือก
4.เหล็ก
5.คีม
วิธีการสานกระด้ง
1.เหลาไม้ไผ่ให้แบน กว้างประมาณ 2 ซม.
2.จัดวางรูปแบบในลักษณะการสาน 2 แถว
3.เริ่มสานไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้ขนาดตามต้องการ
4.เตรียมขอบกระด้งโดยใช้ไม้ไผ่หนามาดัดให้เป็นวงกลม
5.จัดการนำไม้ไผ่ที่สานแล้วนำมาเข้ารูป


ประวัติของผู้ให้การฝึกสอน
ชื่อ นายบุญลือ กุดนอก
วัน /เดือน/ปี/เกิด
บ้านเลขที่ 40 หมู่ 13 ต.หินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
ภูมิลำเนาเดิม บ.หนองปืด หมู่ 6 ต.หนองขาม อ.จักราช จ.นครราชสีมา
ประกอบอาชีพ ทำนา
ภรรยาชื่อ นาง คำพอง กุดนอก
มีบุตร 3คน






















































































































































































โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

การศึกษาหาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไป ได้รับรู้ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน ซึ่งการสานกระด้งจากไม้ไผ่นี้ ได้รับคำแนะนำและได้รับการฝึกสอนจาก นายบุญลือ กุดนอก และเป็นการสึกษาข้อมูลนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ทำให้บุคคลที่ได้ศึกษาข้อมูลจากโครงงานของพวกเราได้รับความรู้ไปด้วย

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะศึกษา

การสานกระด้งจากไม้ไผ่

จุดประสงค์

1.ประยุกต์จัดทำไม้ไผ่ให้มีคุณค่ามากขึ้น

2.จัดทำไม้ไผ่ให้มีราคามากยิ่งขึ้น

3.เผยแพร่ข้อมูลให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ถึงวิธีการสานกระด้งจากไม้ไผ่

4.เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

โครงงานกระด้งสารพัดประโยชน์

รายวิชา คอมพิวเตอร์พื้นฐาน

ผู้เสนอโครงงาน

1.นางสาวบุญพิทักษ์ บุญเพิ่ม เลขที่ 4
2.นางสาวแก้วตา เหลืองอร่าม เลขที่ 5
3.นางสาวชุติมา พลชุมแสง เลขที่ 6
4.นางสาวเมธินี ทองชู เลขที่ 40

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

อาจารย์ ศิริพร วีระชัยรัตนา

โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม